การถ่ายภาพคนไข้เพื่อนำเสนอในเชิงวิชาการนั้นโดยทั่วไปจำเป็นจะต้องมีเอกสารบอกกล่าวกับคนไข้ก่อน แต่สำหรับฟิล์ม Xray หรือภาพถ่ายชิ้นเนื้อนั้นอาจไม่จำเป็นทีเดียวนัก
นโยบายของวารสารทางการแพทย์หลักๆ นั้นไม่ได้จำเป็นจะต้องได้รับเอกสารบอกกล่าวในกรณีที่เป็นรูปที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นของใคร เช่นนโยบายของ BMJ นั้นได้กล่าวไว้ว่ารูปต่างๆสามารถใช้ได้ถ้าเกิดว่าไม่สามารถบ่งบอกได้ว่ารูปนั้นๆ เป็นของใคร และนโยบายของ NEJM นั้นกล่าวเพียงแค่ว่าถ้ามีรูปที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นใคร ผู้ป่วยจะต้องเซ็นชื่อก่อนถึงจะนำมาเผยแพร่ใน NEJM ได้
สำหรับใน HIPAA ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวนั้นได้กลาวว่าจะต้องไม่มี 18 อย่างนี้อยู่ในรูปถ่าย ถึงจะใช้เผยแพร่ทางการศึกษาได้ (ตัวหนาน่าจะเป็นอันที่เจอได้บ่อย)
- ชื่อ
- ที่อยู่ที่ละเอียดกว่ารัฐ (ในไทยน่าจะใช้แค่ ภาคเหนือ ภาคอิสาน)
- วันที่ หรือเดือน (ยกเว้น ปี) ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งคนที่อายุ 90 ขึ้นไปให้เขียนแค่ว่าอายุมากกว่า 90
- เบอร์โทรศัพท์
- เบอร์แฟกซ์
- เบอร์อีเมล
- หมายเลขประกันสังคม
- หมายเลขเวชระเบียน
- หมายเลขของ Health Plan Beneficiary
- หมายเลขบัญชี (ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรกันแน่)
- หมายเลข Certificate/License
- หมายเลขป้ายทะเบียนรถ
- หมายเลขของเครื่องมือต่างๆ
- URL
- IP address
- ลายนิ้วมือหรืออะไรก็ตามที่ใช้บ่งบอกตัวแทนบุคคลในลักษณะเดียวกัน
- ภาพใบหน้าตรงหรือใกล้เคียงกัน
- หมายเลขอื่นใดที่สามารถบ่งบอกตัวได้
ที่มา: Clinical Cases and Images blog by Dr. Ves Dimov