แปลและเรียบเรียงจาก Carron P, Yersin B. Management of the effects of exposure to tear gas. BMJ. 2009;338:b2283.
- จริงๆ ไม่ได้เป็นก๊าซ แต่เป็นของเหลวหรือของแข็งในรูปแบบผงหรือหยดของเหลว
- สารเคมีที่นิยมใช้: chlorobenzylidene-malononitrile (CS), chloroacetophenone (CN), dibenzoxazepine (CR), oleoresin capsicum (OC), pelargonic acid vanillylamide (PAVA), diphenylaminochloroarsine (DM) นอกจากนี้สเปรย์พริกไทยอาจจะมี Capsaicin เป็นส่วนประกอบหลัก โดยสารเหล่านี้มีความเข้มข้นตั้งแต่ 1-15%
- Chloroacetophenone: กลิ่นแอปเปิล, ผงหรือหยด, ออกฤทธิ์ใน 3-10 วินาที นาน 10-20 นาที
- Chlorobenzylidene malononitrile: กลิ่นพริกไทย, ออกฤทธิ์ใน 10-60 วินาที นาน 10-30 นาที
- Dibenzoxazepine: ไม่มีกลิ่น มักติดตามเสื้อผ้าง่าย, ออกฤทธิ์ทันที นาน 15-60 นาที
- Diphenylaminochloroarsine: ไม่มีกลิ่นหรือกลิ่นอัลมอนด์ ทำให้รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน, ออกฤทธิ์เร็ว นาน >60 นาที
- Oleoresin capsicum: กลิ่นพริกไทย ติดตามเสื้อผ้าง่าย, ออกฤทธิ์เร็ว นาน 30-60 นาที
ทำงานอย่างไร:
- สารเหล่านี้มีกลุ่มของ Chlorine หรือ Cyanide อยู่ในตัว เมื่อสัมผัสกับเยื่อบุผิวหนังจะทำให้ Cation Channel TRPA1 ของเซลล์ปลายประสาททำงาน นอกจากนี้ Oleoresin capsaicum สามารถกระตุ้นปลายประสาทได้โดยตรงทำให้มีการหลั่งของ Substance P นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมเช่นความร้อนและความชื้นที่สูงยังทำให้ออกฤทธิ์ได้มากขึ้นด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วสารเหล่านี้ออกฤทธิ์เร็วและสั้น และมักมีความปลอดภัย คือความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์กับความเข้มข้นที่อันตราย (Incapacitating dose/Lethal dose) ห่างกันมาก
- ปัจจัยที่ส่งผลให้มีฤทธิ์มากขึ้น
- ผู้ป่วยเป็น Asthma, COPD, CV Disease, Hypertension, เด็ก, คนแก่, ใส่ Contact Lense, มีโรคตา
- โดนในที่ปิดมิดชิด, ไม่มีการระบายอากาศ
- โดนปริมาณมาก, โดนนาน, โดนบ่อย, โดนสารที่รุนแรงกว่า (Chloroacetophenone < Chlorobenzylidine malononitrile < Dibenzoxazepine < Diphenylaminochloroarsine)
- รายละเอียดของการออกฤทธิ์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีข้อมูลการทดลองในคน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วอาการที่รุนแรงที่สุดคืออาการไหม้ (Burn) ซึ่งอาจเป็น 1st Degree/2nd Degree
อาการ | Complication ที่อาจเกิดได้ | Sequalae ที่อาจเกิดได้ | |
Eyes | Tearing, burning sensation, blepharospasm, photophobia, corneal edema | Keratitis, corneal erosion, intraocular hemorrhage | Cataract, glaucoma |
Respiratory Tract | Severe rhinorrhea, Sneeze, Cough, Dyspnea, Pharyngitis, Tracheal/bronchitis | Bronchospasm, hypoxemia, pulmonary edema | Reactive airways dysfunction syndrome, asthma |
Cardiovascular | Hypertension | Heart failure, cerebral hemorrhage | |
Skin | Rash, edema, erythrema, blistering | Irritant dermatitis, facial edema | Allergic dermatitis |
GI | Buccal irritation, salivation, odynodysphagia, abdominal pain, diarrhea, nausea, vomiting | Liver toxicity | |
Nervous system | Trembling, agitation, anxiety | Hysterical reaction |
Management
- Avoid exposure โดยหากไม่สามารถออกจากบริเวณนั้นได้ อาจจะต้องอยู่ที่ๆ สูงกว่าเนื่องจากพวกนี้มีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ, ป้องกันไม่ให้ผู้รักษาถูกไปด้วย เช่นใส่ชุดที่คลุมถึงมือและคอ ใส่ถุงมือและหน้ากาก, อยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทง่าย, เอาเสื้อผ้าที่ถูกสารออกด้วยการตัดทิ้งและใส่ไว้ในถุงพลาสติกซ้อนสองชั้น
- การรักษามักเป็นไปในแนว Symptomatic มากกว่า ควรระวังในรายที่มี Respiratory Symptoms เยอะ มี Broncospasm, Blepharospasm มาก
- ถ้าถูกตา: ล้างด้วย 0.9% sodium chloride 10-15 นาที, เอา contact lense ออก, ห้ามขยี้ตาหรือเอามือป้ายหน้า, ส่งพบหมอตา
- ถ้าถูกบริเวณอื่น: ล้างด้วยน้ำและสบู่ในบริเวณที่โดน (ยังเป็น Controversial อยู่ บางที่อาจให้ล้างด้วย Diphoterine) ถ้าพบเป็นผื่นให้ Topical Steroid/Antihistamine เหมือน Irritant Dermatitis ทั่วไป
- ถ้ามี Pulmonary Symptom (Bronchial Spasm): Oxygen, beta-2 agonist aerosol, ควร Admit ดูอาการ 24-48h เพื่อระวัง Pulmonary Edema
- GI Symptom: มักหายเอง
ขอบคุณครับ เหมาะกับสถานการณ์ และคนในสถานการณ์เลยครับ