การล้างมือ เป็นเรื่องพื้นฐานๆ ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อที่บริเวณมือได้ครับ
สำหรับแพทย์และศัลยแพทย์แล้ว การล้างมือก่อนการผ่าตัดนั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดการกระจายเชื้อโรคจากผู้ป่วยรายหนึ่งไปถึงผู้ป่วยอีกรายหนึ่ง โดยก่อนหน้าที่จะพบนี้ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อก่อนนั้นยังไม่มีความเจริญ หมอมีน้อย หมอสูติกรรมที่ทำแท้งต้องมาทำคลอดด้วย มีคนพบว่าหมอคนหนึ่งนั้นทำคลอดแล้วหญิงที่เขาทำคลอดให้นั้นติดเชื้อและตายหลังคลอดเป็นจำนวนมาก ผิดจากคุณพยาบาลที่ช่วยทำคลอด ซึ่งล้างมืออยู่ตลอดเวลา ก็เลยเป็นที่มาของการล้างมือครับ
ก่อนเข้าห้องผ่าตัดทุกครั้งนั้นคุณหมอหรือพยาบาลที่ช่วยผ่าตัดนั้นจะต้องทำการล้างมือ ถึงแม้ว่าหลังล้างมือเสร็จแล้วจะใส่ถุงมืออีกชั้นก็ตาม โดยขั้นตอนของการล้างมือนั้นต้องทำผ่านก็อกน้ำที่มีน้ำสะอาดไหลอยู่ตลอดเวลา สำหรับสบู่นั้นห้องผ่าตัดส่วนใหญ่จะมีให้เลือกสองอย่าง คือ Chlorhexidine scrub (น้ำยาสีแดง) และ Betadine scrub (น้ำยาสีดำเหมือนกับเบต้าดีนทาแผล แต่จะมีส่วนผสมคล้ายสบู่และมีฟองด้วยเป็นคนละตัวกับอันที่ใส่แผล) ครับ โดยจะใช้อันไหนก็พบว่าไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไหร่
การล้างมือที่สำคัญนั้นไม่ได้อยู่ที่ท่าทางเสียเท่าไหร่ มีคนพบว่า "เวลา" ต่างหากนั้นที่เป็นตัวกำหนด โดยส่วนใหญ่ถ้าการผ่าตัดไม่ได้รีบด่วนอะไร คุณหมอก็จะล้างมืออยู่ประมาณ 4-5 นาทีครับ โดยจะแบ่งเป็นสองรอบ โดยรอบแรกมี
1. ใส่น้ำยาที่ฝ่ามือ แล้วถูฝ่ามือไปมา (แบบเดียวกันกับที่เราล้างกันประจำนั่นแหละ)
2. ถูบริเวณซอกนิ้วทั้งสี่ทั้งข้างบนและข้างล่าง
3. ถูบริเวณด้านข้างของนิ้วก้อย
4. ถูบริเวณด้านหลังของนิ้ว
5. ถูบริเวณนิ้วโป้ง
6. ถูกบริเวณแขนทั้งสองข้างลงมาจนเกือบถึงศอก
หลังจากรอบแรกจบแล้ว ก็จะใช้แปรงขัดเล็บที่สะอาด ทำการขัดเล็บ (ใครเล็บยาวอดเข้าผ่าตัดนะ) หลังจากขัดเล็บแล้วก็ทำซ้ำขั้น 1-6 อีกทีหนึ่ง รวมเวลาก็ประมาณเกือบ 4-5 นาที เท่านี้ก็พร้อมที่จะเข้าห้องผ่าตัดแล้วครับ (อ้อ ห้องผ่าตัดส่วนใหญ่จะเปิดก๊อกน้ำด้วยศอก ขา หรือเป็นระบบ Sensor ที่ไม่ต้องสัมผัสนะครับ ดังนั้นไม่ต้องห่วงว่าจะต้องจับก็อกใหม่)
ล้างมือ
My Blogs
More About Me
(c) Copyright 2015 Pawin Numthavaj. Powered by Blogger.
เคยเห็นในหัตถ์เทวดาเทรุ
หลังจากล้างมือเสร็จนี่ จะมีคนมาใส่ถุงมือให้ด้วยหรอครับ? :)
@Sikachu!
ถ้าอยู่ในห้องผ่าตัด และมีพยาบาลที่ช่วยผ่าตัดเขาใส่ชุดผ่าตัดเรียบร้อยแล้วบางทีเขาก็จะอ้าถุงมือให้เราใส่ครับ แต่ส่วนใหญ่จะใส่เอง อิอิ
ผมอยากทราบว่า Betadine scrub กับ Betadine solution ต่างกันยังไงคับ แล้วถ้าเราเอาBetadine scrub ไปเช็ดแผลในผู้ป่วย แผลผู้ป่วยจะเป็นอะรัยมากไหมคับ จาก นศ.พยาบาลครับ
Betadine scrub มีส่วนประกอบของ Ammonium sulfate ที่เป็นสารซักฟอกครับ (จากเอกสารกำกับ http://www.purduepharma.com/PI/NonPrescription/A6910B16.pdf ) ถ้าเอาไปใส่แผล อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ครับ แต่ที่สำคัญคือมันก็จะเป็นฟองฟ่อดเหมือนสบู่เหลวเลยล่ะครับ
รบกวนสอบถามหน่อยคะ คือว่ามีคนเอาน้ำยาชื่อว่า ดี-เยอร์-ม่า มาขายบอกเป็นน้ำยาล้างมือของแพทย์ สามารถใช้ล้างบริเวณจุดซ่อนเร้นได้มันจริงหรือเปล่าคะ ค้นหาในกูเกิ้ลก็ไม่มีเลยคะ ขอบคุณมากคะ :)
รบกวนสอบถามหน่อยคะ คือว่ามีคนเอาน้ำยาชื่อว่า ดี-เยอร์-ม่า มาขายบอกเป็นน้ำยาล้างมือของแพทย์ สามารถใช้ล้างบริเวณจุดซ่อนเร้นได้มันจริงหรือเปล่าคะ ค้นหาในกูเกิ้ลก็ไม่มีเลยคะ ขอบคุณมากคะ :)
อยากรู้ค่ะว่าหมอใช้น้ำยาอะไรขัดมือก่อนเข้าห้องผ่าตัดเหรอค่ะ เหในหนังเป็นฟองสีเหลืองๆอ่ะค่ะ
สีเหลืองๆ เป็น Betadine scrub ครับ (คนละอันกับ Betadine solution ที่ทาแผลน่ะ)
ถ้าสีแดงก็เป็น Chlorhexidine scrub ครับ
ขอบคุณค่ะ ที่ตอบค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้เยอะเลยค่ะ
แล้ว้ถุงมือล่ะค่ะ เราล้างมือสะอาดแล้ว พวกเครื่องมือก็เห็นเค้าเอาทำความสะอาดไปเวฟ(เคยเห็นตอนไปทำฟัน)แล้วถุงมือที่จะใส่เค้าหยิบออกมาจากกล่องไม่เป็นไรเหรอคะต้องล้างหรือทำอะไรก่อนมั้ยคะ อยู่ดีๆก็สงสัยขึ้นมาเพราะถุงมือก็สัมผัสบาดแผลโดยตรงใช่มั้ยคะ
ขึ้นกับความสะอาดหรือสกปรกของบาดแผลด้วยครับ
ถ้าต้องการความสะอาดระดับเข้าไปในเนื้อเยื่อที่ไม่มีเชื้อโรคเลย (เช่นการผ่าตัดเข้าไปในช่องอก ช่องท้อง) จะต้องเป็นถุงมือฆ่าเชื้อ และต้องใส่ตามวิธีครับ แต่ถ้าเป็นความสะอาดระดับเนื้อเยื่อที่มีเชื้อโรคอยู่แล้ว (เช่น ทำฟันทั่วไป) ก็ใช้ถุงมือสะอาดธรรมดาแทนได้ครับ